สืบสายธาร ณ ห้องจัดแสดงงาน 5 และ 6 พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยใหม่เอี่ยม
สืบสายธาร ณ ห้องจัดแสดงงาน 5 และ 6 พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยใหม่เอี่ยม

สืบสายธาร

เปิดชม 27

สืบสายธาร

วันที่ 2 พฤศจิกายน 2567 - 17 กุมภาพันธ์ 2568

ณ ห้องจัดแสดงงาน 5 และ 6 พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยใหม่เอี่ยม


สืบสายธาร : ศิลปิน บู้ซือ อาจอ, เจี้ยนเป่ย เฉิน, ชินยุน โก , อันเหมิน จาง, เจษฎา ตั้งตระกูลวงศ์, พินรี สัณฑ์พิทักษ์ / ทีมภัณฑารักษ์ โก๋แก่ คอลเลคทีฟ พิธีเปิดนิทรรศการ 2 พฤศจิกายน 2567 ตั้งแต่เวลา 17.30 เป็นต้นไป


พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยใหม่เอี่ยม ขอนำเสนอ สืบสายธาร นิทรรศการที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างไทยและไต้หวัน ที่เชื่อมร้อยกันอย่างแนบแน่นทั้งในเชิงจิตวิญญาณ กายา วิถีชีวิต และความเชื่อของชนพื้นเมืองที่เหนือไปกว่าเขตแดนระหว่างเส้นแบ่งรัฐชาติ อันเป็นผลกระทบจากประวัติศาสตร์การล่าอาณานิคม ไปจนถึงการมาของเทคโนโลยีสมัยใหม่ นิทรรศการนี้จึงนำไปสู่ความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนระหว่างสิ่งมีชีวิตกับธรรมชาติที่เหนือไปกว่ากรอบคิดในการขีดเส้นแบ่งพรมแดนของมนุษย์


นิทรรศการผสมผสานผลงานอันหลากหลาย ตั้งแต่ภาพเขียนไปจนถึงผลงานศิลปะจัดวางภาพเคลื่อนไหวหลายจอ ทั้งที่อยู่ในชุดสะสมของพิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยใหม่เอี่ยม ได้แก่ พินรี สัณฑ์พิทักษ์ บู้ซือ อาจอ และเจษฎา ตั้งตระกูลวงศ์ มาร่วมสร้างบทสนทนากับผลงานของศิลปินชาวไต้หวัน เจี้ยนเป่ย เฉิน, ชินยุน โก และ อันเหมิน จาง สืบสายธาร นำเสนอมุมมองที่ก้าวข้ามพรมแดนทางทะเล และเส้นแบ่งระหว่างสายพันธุ์ ขยับขอบเขตของแนวคิดความเป็นเครือญาติที่ไม่เพียงเกี่ยวพันกันทางสายเลือด แต่ยังเชื่อมโยงกันผ่านปฏิสัมพันธ์ในระบบนิเวศภายใต้ช่วงเวลาที่เฉพาะเจาะจง


ด้วยแรงบันดาลใจจากนักมานุษยวิทยาชาวอเมริกัน ดอนนา ฮาราเวย์ (Donna Haraway) ว่าด้วยแนวคิด วัฒนธรรมชาติ (Natureculture) อันเป็นเครื่องมือในการท้าทายฐานความรู้ทางมานุษยวิทยาความเป็นเครือญาติ (Kinship) นิทรรศการนี้จึงตั้งคำถามต่อความเชื่อที่ว่าความสัมพันธ์ทางสายเลือดของมนุษย์จำเป็นต่อการถ่ายทอดทางวัฒนธรรมหรือไม่ เพราะแท้จริงแล้ว ความเชื่อเรื่องบรรพบุรุษคือผู้มาก่อน หรือลูกหลานคือผู้สืบทอดนั้น อาจไม่ได้จำกัดเฉพาะแค่มนุษย์เพียงอย่างเดียว


นิทรรศการ สืบสายธาร เกิดขึ้นจากความร่วมมือของพิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยใหม่เอี่ยม ร่วมกับสำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป ประจำประเทศไทย และ กระทรวงวัฒนธรรมไต้หวัน


กิจกรรมสาธารณะในนิทรรศการ สืบสายธาร 


Artist Talk: Cetus Chin-Yun Kuo


  • วันที่ 11 ธันวาคม 2024 
  • เวลา 14:00-16:00 น. 
  • สถานที่: อาคารหลักสูตรนานาชาติมนุษยศาสตร์และความยั่งยืน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • การสนทนาจะดำเนินเป็นภาษาอังกฤษ


ซีตัส ชินยุน โก ศิลปินร่วมสมัยจากไถจง เมืองทางตะวันออกของไต้หวัน สนใจการทำงานวิจัยในพื้นที่ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจากการล่าอาณานิคมและพื้นที่ของชาติพันธุ์ ในกิจกรรมครั้งนี้ ศิลปินจะนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการวิจัยเขตพื้นที่ว่างบริเวณภูเขาของไต้หวัน และงานวิจัยเกี่ยวกับหมู่บ้านผู้อพยพจากกองทัพก๊ก มินตั๋ง ในยุคสงครามกลางเมืองจีน บริเวณพื้นที่โซเมียทางตอนเหนือของประเทศไทย


Cooking Cinavu with CHANG En-Men


  • วันที่ 14 ธันวาคม 2024
  • เวลา 14:00-16:00 น.
  • สถานที่: พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยใหม่เอี่ยม
  • จำนวนผู้เข้าร่วม: 20 คน


ศิลปินไต้หวัน จาง อันเหมิน สำรวจความสัมพันธ์ระหว่างภูมิทัศน์ของหอยทากและมนุษย์ในชุมชนชาติพันธุ์ชาวไพวันทางตอนใต้ของไต้หวัน เวิร์กช็อปนี้ได้รับแรงบันดาลใจจากผลงาน Snail Paradise Trilogy: Setting Sail or Final Chapter (2021) ได้นำเสนออาหารพื้นเมืองของชาวไต้หวัน 'ซินาวู' (Cinavu) หรือบ๊ะจ่างที่คนไทยรู้จักกันดี ผู้เข้าร่วมจะได้เรียนรู้วิธีทำบ๊ะจ่างแบบดั้งเดิมของชาวไพวันที่ทำจากหอยทากและข้าวฟ่าง ซึ่งเป็นอาหารสำหรับโอกาสพิเศษเท่านั้น โดยปรับใช้วัตถุดิบในท้องถิ่นของไทยร่วมด้วย


ค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ 200 บาท, นักศึกษา 100 บาท, ผู้สูงอายุ 150 บาท, สถาบันการศึกษาสามารถขอเข้าชมได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายในวันจันทร์ (ติดต่อล่วงหน้า) เวลาทำการ 10.00 - 18.00 น. เปิดทุกวันศุกร์ - จันทร์

วันที่โพส : ศ. 1 พ.ย. 2567
ข้อมูลการติดต่อเพิ่มเติม
ชื่อผู้ติดต่อ

-

Tel

-

E-mail

-

Website
Line

-