ชอพดีมีคืน ซื้อยางรถ, อุปกรณ์ตกแต่งรถ ค่าซ่อมรถ ฯลฯ ลดหย่อนภาษีได้นะ
มาตรการ ชอพดีมีคืน เป็นมาตรการที่ช่วย ลดหย่อนภาษี ซึ่งคนที่ได้ประโยชน์จากมาตรการชอพดีมีคืน 2563 คือผู้ที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปี 2563 ที่จะยื่นแบบภาษี ณ มีนาคม 2564 โดยให้ค่าลดหย่อนสูงสุด 30,000 บาท (ไม่รวมห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล) หักลดหย่อนค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการเท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการสำหรับการซื้อสินค้าหรือการรับบริการในประเทศที่จ่ายให้กับผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
โดยมาตราการชอพดีมีคืนนั้นได้เริ่มมาตั้งแต่วันที่ 23 ตุลาคม 2563 และสิ้นสุดลงวันที่ 31 ธันวาคม 2563
เงื่อนไขการใช้สิทธิ์
-
ผู้ใช้สิทธิ์ต้องซื้อสินค้ากับผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษี VAT
-
ต้องมีใบกำกับภาษีมูลค่าเพิ่มเต็มรูปแบบจากการซื้อสินค้าเป็นหลักฐาน
-
โดยผู้ที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (บัตรคนจน) หรือเข้าร่วมโครงการคนละครึ่งไม่สามารถใช้สิทธิ์นี้ได้
ยกเว้นผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือเป็นผู้ที่ลงทะเบียน คนละครึ่ง จะไม่สามารถใช้สิทธิ์ชอพดีมีคืนได้อีก
ส่วนระยะเวลาของมาตรการชอพดีมีคืน เริ่มตั้งแต่ 23 ตุลาคม-31 ธันวาคม 2563
มาดูกันว่าสินค้าประเภทไหน ? ต้องมีหลักฐานอะไรบ้าง ? ที่นำมาใช้ลดหย่อนภาษีได้
1. สินค้าและบริการที่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม
ต้องเป็นสินค้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) และร้านค้าสามารถออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปได้ ดังนั้น ก่อนจะซื้อให้ถามก่อนว่า สามารถออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปให้เราได้ไหม เช่น เปลี่ยนยางรถยนต์ เปลี่ยนน้ำมันเครื่อง ซื้ออุปกรณ์ตกแต่งรถยนต์ อะไหล่รถยนต์ การซ่อมรถ เข้าศูนย์ตรวจเชคสภาพรถ ต้องรับบริการและซ่อมแล้วเสร็จในช่วงวันที่ 23 ตุลาคม-31 ธันวาคม 2563 เท่านั้น จึงจะสามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนได้
ฉะนั้นหากใครมีความจำเป็นเปลี่ยนยางรถ หรือต้องการซื้ออุปกรณ์เกี่ยวเนื่องอยู่แล้ว สามารถเข้ามาจับจ่ายชอพดีมีคืนได้ในบริเวณ Challenger 3 ซึ่งมีร้านค้านับพันรายการ มีไว้บริการให้ท่านในงาน มหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 37 หรือ The 37th Thailand International Motor Expo 2020 ซึ่งจัดให้มีขึ้นระหว่างวันที่ 2-13 ธันวาคม นี้ที่ IMPACT Challenger 1-3 เมืองทองธานี (ย้ำ ! เพื่อความสบายใจทั้งสองฝ่าย ก่อนจะซื้อให้ถามก่อนว่า สามารถออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปให้เราได้ไหม)
2. หนังสือ
สามารถซื้อได้ทั้งหนังสือที่เป็นสิ่งพิมพ์ (ทุกประเภท ยกเว้นนิตยสารและหนังสือพิมพ์) รวมทั้ง e-Book โดยต้องมีใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป หรือใบเสร็จรับเงินที่มีชื่อ-นามสกุลของผู้ซื้อก็ได้
3. สินค้าโอทอป (OTOP)
ต้องเป็นสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ที่ได้ลงทะเบียนกับกรมการพัฒนาชุมชนแล้ว และมีหลักฐานเป็นใบเสร็จรับเงินที่มีชื่อ-นามสกุลของผู้ซื้อ หรือใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป
ทั้งนี้ ใบกำกับภาษีหรือใบเสร็จรับเงิน ต้องมีเครื่องหมายหรือข้อความที่ระบุว่าเป็นสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ เช่น "OTOP", "โอทอป" หรือ "One Tambon One Product" หรือหากไม่มีข้อความ ผู้ขายอาจประทับตรายางที่มีชื่อการค้า หรือเครื่องหมายการค้า แล้วระบุข้อความว่า "สินค้าทุกรายการเป็นสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์" หรือข้อความอื่นในลักษณะทำนองเดียวกันในใบกำกับภาษี