งาน BMAM Expo Asia 2018 กุญแจสู่การบริหารจัดการทรัพยากรอาคารแห่งอนาคต
อิมแพ็คจัดงาน BMAM Expo Asia 2018 งานแสดงสินค้าและการประชุมสัมมนาด้านการบริหารจัดการทรัพยากรอาคาร โรงงาน และอสังหาริมทรัพย์แห่งเอเชีย ครั้งที่ 11 ภายใต้ธีม "Integrated solutions for FM of the future" ระหว่างวันที่ 12-14 กันยายน 2561 ณ อาคาร 5 – 6 อิมแพ็ค เมืองทองธานี โดยรวบรวมเทคโนโลยีและนวัตกรรมล่าสุด ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมไทย 4.0 ของภาครัฐ ในการบริหารจัดการทรัพยากรอาคารและโรงงาน อาทิ เทคโนโลยีสำหรับอาคารอัจฉริยะ สินค้า และบริการด้านการบริหารจัดการอาคารและโรงงาน เทคโนโลยีด้านการทำความสะอาด ระบบรักษาความปลอดภัย การออกแบบภายในและภายนอกอาคาร เทคโนโลยีอาคารเขียว จากผู้ประกอบการกว่า 150 บริษัท คาดว่าจะมีผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการอาคาร และผู้ซื้อจากทั่วภูมิภาคเข้าชมงานกว่า 6,000 รายตลอด 3 วันการจัดงาน
อัตราการเติมโตในอุตสาหกรรม FM
แนวโน้มของอาคารอัจฉริยะได้รับการส่งเสริมอย่างมาก ในอุตสาหกรรมการบริหารจัดการทรัพยากรอาคาร ในอาเซียนอาเซียน และเพื่อตอบสนองการเติบโตอย่างรวดเร็ว จึงมีการขยายธุรกิจFM เข้าไปทั่วทั้งภูมิภาคอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้มีอัตราเติบโตเฉลี่ยสะสมต่อปี (CAGR) อยู่ที่ 9.6% ซึ่งจะมีมูลค่ามากกว่า 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2015-2021
เทคโนลียีดิจิทัลกับโครงการ มหานคร 2580
ดร.เสถียร เจริญเหรียญ รักษาการในตำแหน่งวิศวกรใหญ่ กรมโยธาธิการและผังเมือง กล่าวว่า “กรมโยธาธิการและผังเมือง มีแผนจัดทำโครงการมหานคร 2580 เพื่อวางแผนและจัดทำผังเมืองกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ให้เป็นมหานครที่น่าอยู่ และการทำโครงการนี้ให้เกิดขึ้นได้จำเป็นต้องนำเทคโนโลยีในยุคดิจิทัลเข้ามาช่วยในการวางแผน จำลองสถานการณ์ คาดการณ์สถานการณ์ ซึ่งกรมโยธาธิการและผังเมืองยินดีเป็นอย่างยิ่งที่งาน BMAM จะเป็นเวทีกลางที่จะรวบรวมเทคโนโลยีเหล่านี้มาจัดแสดงไว้ในงานเดียว ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศอีกรูปแบบหนึ่ง”
การเติบโตของอุตสาหกรรม และกระแสเทคโนโลยีดิจิทัล
มร.ลอย จุน ฮาว ผู้จัดการทั่วไป บริษัท อิมแพ็ค เอ็กซิบิชั่น แมเนจเม้นท์ จำกัด ผู้จัดงาน BMAM Expo Asia 2018 เปิดเผยว่า “โลกกำลังวิ่งเข้าสู่ความเป็นดิจิทัลอย่างไม่หยุดยั้ง มีเทคโนลียีที่เกิดขึ้นใหม่ อาทิ ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI, ไอโอที (Internet of Things: IoT) นวัตกรรมโลกเสมือนจริงอย่าง Virtual Reality (VR), Mixed Reality (MR) และ Augmented Reality (AR) สิ่งเหล่านี้จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในอุตสาหกรรมการบริหารจัดการทรัพยากร ซึ่งในปี 2014 ประเทศไทยมีมูลค่าการใช้จ่ายใน ไอโอที ถึง 57.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และจะเพิ่มขึ้นเป็น 973.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2020 อีกทั้งรัฐบาลยังมีนโยบายสนันสนุนอุตสาหกรรมระบบอัตโนมัติ, หุ่นยนต์, เขตส่งเสริม นิคมอุตสาหกรรม สมาร์ท พาร์ค นิคมอุตสาหกรรมแนวใหม่ ที่ใช้เม็ดเงินลงทุน 2,043 ล้านบาท เพื่อรองรับอุตสาหกรรมหลัก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมดิจิทัล เช่น นวัตกรรมอัจฉริยะ ไอโอที ระบบรักษาคสามปลอดภัยอัจฉริยะ และรับบจัดการพลังงานอัจฉริยะ ที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ