อีเวนท์ 77 จังหวัด
งานอีเวนต์ ,เทศการ ,งานประจำปี

Terraformation

อัพเดทเมื่อ : 13 มีนาคม 2566 10:19:47
เปิดชม : 170
  • จัดเเสดงวันที่ :
    11 มีนาคม - 5 เมษายน 2566
  • ประเภทงาน :
    นิทรรศการ/งานศิลปะ/วัฒนธรรม
  • สถานที่ :
    พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยใหม่เอี่ยม
  • จังหวัด :
    กรุงเทพมหานคร
Terraformation
 
วันที่ 11 มีนาคม - 5 มิถุนายน 2566
ณ พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยใหม่เอี่ยม
 

     Terraformation 11 มีนาคม - 5 มิถุนายน พ.ศ. 2566 ศิลปิน: นิพันธ์ โอฬารนิเวศน์, คริส ชอง ชาน ฟุย, เจษฎา ตั้งตระกูลวงศ์ และ ดิสรณ์ ดวงดาว ภัณฑารักษ์ กิตติมา จารีประสิทธิ์
 
     คัดสรรจากชุดงานสะสมของพิพิธภัณฑ์ และศูนย์ห้องปฏิบัติการและวิจัยทางการแพทย์และการเกษตรแห่งเอเซีย ในความร่วมมือกับเทศกาลศิลปะเพื่อลมหายใจ ณ พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยใหม่เอี่ยม
 
     พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยใหม่เอี่ยม เรียนเชิญทุกท่านเข้าชมนิทรรศการ เทอร์ราฟอร์มเมชั่น (Terraformation) นิทรรศการกลุ่มโดย นิพันธ์ โอฬารนิเวศน์, คริส ชอง ชาน ฟุย, เจษฎา ตั้งตระกูลวงศ์ และดิสรณ์ ดวงดาว คัดสรรโดย กิตติมา จารีประสิทธิ์ นิทรรศการจัดแสดงระหว่างวันที่ 11 มีนาคม - 5 มิถุนายน พ.ศ. 2566 นำเสนอผลงานในชุดสะสมของพิพิธภัณฑ์ฯ ร่วมกับ ชุดสะสมของศูนย์ห้องปฏิบัติการและวิจัยทางการแพทย์และการเกษตรแห่งเอเซีย หรือ เอมาร์ค (AMARC) กรุงเทพฯ และชุดสะสมส่วนตัวของศิลปิน มิตร ใจอินทร์ ในความร่วมมือกับเทศกาลศิลปะเพื่อลมหายใจ
 
     นิทรรศการเทอร์ราฟอร์มเมชั่น คือการสำรวจความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และสิ่งแวดล้อม รวมถึงการสำรวจวิถีมนุษย์ที่เป็นส่วนสำคัญในการรุกล้ำธรรมชาติ หรือเปลี่ยนผ่านทางภูมิศาสตร์อย่างมีนัยสำคัญ โดยนำเสนอผ่านสื่อศิลปะอันหลากหลาย ทั้งจิตรกรรม ประติมากรรม บันทึกภาพเคลื่อนไหว ภาพถ่าย และงานศิลปะจัดวาง ผลงานทั้งหมดต่างตรวจสอบถึงความสัมพันธ์หว่างระบบนิเวศ สังคม และวัฒนธรรมของมนุษย์ที่แทรกแซงเข้าไปในโลกธรรมชาติ 
 
     ‘เทอร์ราฟอร์มเมชั่น’ มีความหมายถึงกระบวนการปรับสภาพดาวเคราะห์หรือเทห์ฟากฟ้าอื่น ให้มีลักษณะที่มนุษย์หรือสิ่งมีชีวิตจะอาศัยอยู่ได้ ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงบรรยากาศ อุณหภูมิ สภาพพื้นผิว และระบบนิเวศของดาวเคราะห์ใดดาวเคราะห์หนึ่งให้มีลักษณะคล้ายโลก เช่นเดียวกับที่เราอาจเห็นได้บ่อยครั้งจากเรื่องราวในภาพยนตร์แนววิทยาศาตร์ ที่ตัวละครมนุษย์มักมองหาดาวเคราะห์ดวงอื่นเพื่ออยู่อาศัยในอนาคต ทั้งนี้ เหตุผลของการที่มนุษย์จำต้องมองหาดาวดวงอื่น หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็น ‘โลกใบใหม่’ เป็นเพราะโลกใบเดิมที่พวกเราอาศัยอยู่นี้ ถูกคุกคามด้วยกิจกรรมอันหลากหลายของมนุษย์ที่สั่งสมอย่างต่อเนื่อง จนโลกแทบไม่หลงเหลือทรัพยากร หรือไม่อาจอยู่ในสถานะที่สิ่งมีชีวิตใดจะสามารถดำรงเผ่าพันธุ์ได้อีกต่อไป
 
     ผลงานในนิทรรศการนี้จึงเผยให้เห็นแง่มุมของทั้งปัญหาและความสำคัญของธรรมชาติไปพร้อมกัน โดยศิลปินนำพาผู้ชมไปสำรวจทั้งการระเบิดเกาะแก่งกลางแม่น้ำโขงในอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย เพื่อทำเส้นทางเดินเรือน้ำลึกให้เรือขนสินค้าขนาดใหญ่ วิถีชีวิตของชาวประมงลุ่มแม่น้ำชีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ต้องแปรผันไปตามการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศ หรือกระบวนการเพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ของกลุ่มอุตสาหกรรมผลิตรังนกในประเทศมาเลเซีย ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กจำนวนนับไม่ถ้วน ไปจนถึงช่วงเวลาของโรคระบาดครั้งใหญ่ ซึ่งทำให้เราต่างตกอยู่ในภาวะการณ์ที่ไม่สามารถเผชิญหน้าผู้คนได้เช่นเคย ผลงานเหล่านี้ไม่เพียงช่วยชี้ให้เราเห็นถึงภาวะบิดผันและเสื่อมสลายของสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อชีวิตมนุษย์ แต่ยังทำให้เราตระหนักว่าการมีอยู่ของเผ่าพันธุ์มนุษย์แปรผันโดยตรงกับความยั่งยืนของธรรมชาติ
 
     ในขณะที่เรื่องราวในภาพยนตร์วิทยาศาสตร์หลากหลายเรื่องชี้ชวนให้เราจินตนาการถึงโลกใบใหม่อย่างไร้ขอบเขต น้ำที่สะอาด อากาศที่บริสุทธิ์ และทรัพยากรอันล้นเหลือที่มีพร้อมสำหรับมนุษย์ทุกคน หากทั้งหมดนี้ก็เป็นเพียงจินตนาการเชิงบวกในประดิษฐกรรมที่เราสร้างขึ้น และมันช่างไกลห่างจากความเป็นจริงที่มนุษยชาติกำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบันอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยง
 
     นิทรรศการนี้เป็นส่วนหนึ่งของเทศกาลศิลปะเพื่อลมหายใจครั้งที่ 2 เทศกาลที่มุ่งสร้างการตระหนักรู้ถึงความสำคัญของปัญหาด้านมลภาวะทางอากาศและสิ่งแวดล้อม โดยเทศกาลศิลปะเพื่อลมหายใจจะจัดขึ้นทั่วทั้งจังหวัดเชียงใหม่ ตามพื้นที่ศิลปะและวัฒนธรรมอื่นๆ
 

รายละเอียดเพิ่มเติม
งานอีเวนท์ อื่นๆ ที่น่าสนใจ
Translate to :


Information Partner
  • Ayutthaya city park
  • Bitec
  • Central World
  • Fortune Town
  • Future Park
  • Future Park
  • JJ Mall
  • ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ ขอนแก่น
  • Paragon Hall
  • Tceb
  • Qsncc
  • Seacon Bangkae
  • Seacon Square
  • TCEB
  • TEA
  • THE BERKELEY HOTEL PRATUNAM
  • The Mall
  • The hub @zeer
  • Zeer Rangsit