ประเพณีแห่หงส์ ธงตะขาบ กำเนิดขึ้นใน จ.สมุทรปราการ ชาวพระประแดง (มอญปาก-ลัด) ปกติมักมีขึ้นในช่วงเวลา วันที่ 13 เมษายนของทุกปี หรือวันสงกรานต์ ความเป็นมาหรือสาระสำคัญของประเพณีไทยแห่หงส์ ธงตะขาบ ก็เพื่อเป็นการระลึกถึง และเป็นการบูชา รวมไปถึงการเฉลิมฉลองให้กับครั้งที่พระพุทธเจ้าเสด็จกลับลงจากชั้นภพดาวดึงส์ เป็นการถือปฏิบัติสืบทอดกันมาจนปัจจุบันนี้ โดยการร่วมงานเฉลิมฉลองประเพณีไทยนี้ ผู้คนต่างๆมักจะนำเสาหงส์ และ ธงตะขาบ มาใช้คู่กัน.
ประวัติความเป็นมาประเพณีถวายธงตะขาบ
ประเพณีถวายธงตะขาบ การถวายธงตะขาบเป็นประเพณีที่ชาวไทยรามัญ ถือปฏิบัติกันในเทศกาลวันสงกรานต์ กระทำกันที่เสาหงส์หน้าเจดีย์ หรือ โบสถ์ วิหาร อันเป็นสัญลักษณ์ของชาวรามัญแห่งหงสาวดี เสาหงส์ทำด้วยไม้กลม หรือ เหลี่ยม มีเสาประกบคู่ประดับด้วยบัวหัวเสา ที่ปลายเสามีรูปหงส์ทรงเครื่องหล่อด้วยโลหะยืนอยู่ปลายเสากางปีกทั้งสองข้าง ที่จะงอยปากหงส์แขวนด้วยกระดิ่ง บนสุดมีฉัตรสามชั้นปักอยู่ ชาวรามัญเรียกเสาหงส์ว่า “เทียะเจมเจียนู่ ”
ประเพณีถวายธงตะขาบจะจัดทำกันในวันสุดท้ายของวันสงกรานต์ที่ศาลาวัด โดยใช้ผ้าเป็นผืนยาวตัดเป็นรูปตัวตะขาบ ใส่ไม้ไผ่เป็นระยะๆ ตลอดผืน ติดธงเล็กๆ ที่ซี่หัวไม้ไผ่ เมื่อเสร็จแล้วดูไกลๆ คล้ายตัวตะขาบ ชาวรามัญเรียกธงนี้ว่า “ อะลามเทียะกี้ ” หลังจากทำเสร็จแล้ว ในตอนบ่ายก็จะมีการแห่ธง โดยช่วยกันจับขอบธงตลอดทั้งผืน แห่ธงไปตามหมู่บ้าน มีขบวนเถิดเทิงกลองยาวประกอบขบวน เสร็จแล้วนำมาทำพิธีถวายธงที่หน้าเสาหงส์ แล้วชักขึ้นสู่ยอดเสา เพื่อเป็นการบูชาพระพุทธเจ้า และสืบสานประเพณีต่อมาจนถึงทุกวันนี้
วัตถุประสงค์ของการแห่รูปหงส์ และธงตะขาบ ก็เพื่อเป็นการบูชา และเฉลิมฉลองเมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าสมเด็จกลับจากดาวดึงส์ ในการฉลองงานบุญกุศล ชาวรามัญจะใช้เสาหงส์และธงตะขาบคู่กัน “หงส์” เป็นสัญลักษณ์ของรามัญประเทศ มีตํานานตามที่ได้เล่ามาแล้วข้างต้น ส่วน “ตะขาบ” เป็นสัตว์ที่มีลําดับยาว มีเท้ามาก มีเขี้ยวเล็บที่มีพิษ สามารถต่อสู้กบศัตรู และรักษาตัวเองได้ เปรียบเสมือนคนมอญที่มิเคยหวาดหวันต่อข้าศึกศัตรู สามารถปกป้องคุ้มครองประเทศของตนเอง
ชาวมอญปากลัดมาตอนไหน ชาวมอญปากบัดอพยพเข้ามาในประเทศไทยครั้งใหญ่ในปี พ.ศ. 2357 ได้มี หรือกว่า 200 ปี ประมาณ 40000 คน โดยมี สมิงสอดเบา เป็น หัวหน้า ครั้งนี้พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงพระกรุณารับไว้ให้อยู่ที่ปทุมธานีบ้าง นนทบุรีบ้าง และอีกส่วนหนึ่งให้มาอยู่ที่เมืองนครเขื่อนขันธ์ ครั้นเมื่อคนมอญเหล่านั้นได้รับ พระราชทานที่อยู่แล้ว ก็แยกย้ายกันไป อยู่เป็นหมู่ๆใช้ชื่อเรียกหมู่บ้านเช่นเดียวกับ เมื่อครั้งที่อยู่ทางพม่าตอนใต้ จะมีอยู่บ้างที่เรียกชื่อตามสิ่งแวดล้อม
ชาวมอญปากลัดหรือมอญพระประแดง จะจัดงานแห่หงส์ธงตะขาบขึ้นทุกปี ในวันที่ 13 เมษายน โดยจะเวียนสลับกันเป็นเจ้าภาพ ซึ่งปีนี้ 2561 วัดทรงธรรมเป็นเจ้าภาพจัดงาน